เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร

ในประเทศที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมย่อมเห็นคุณค่าของหนังสือและการอ่าน ผู้คนรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ กิจกรรมเปิดพื้นที่ให้คนทำหนังสือและนักอ่านได้พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านการจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ หลายประเทศทั่วโลก เช่น เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเมียนมา ต่างจัดเทศกาลหนังสือประจำปีอย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอและสร้างสรรค์ประเด็นทางวรรณกรรมที่น่าสนใจ

ความประทับใจจากบรรยากาศงานหนังสือทั้งไทยและต่างประเทศโอกาสเข้าร่วม ทำให้เกิดเป็นบทสนทนาระหว่างผู้บริหารร้านหนังสือบุ๊คโมบี้ รีดเดอร์ส คาเฟ่ และเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ ต่อมาจึงได้ขยายวงสนทนาไปยังบรรณาธิการสำนักพิมพ์ต่างๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558 บทสนทนานั้นสะท้อนถึงความต้องการนำเสนอคุณค่าของเทศกาลหนังสือให้เป็นมากกว่างานจำหน่ายหนังสือ เน้นเนื้อหาและความเป็นมาของวรรณกรรมด้วยมุมมองเชิงศิลปวัฒนธรรม ต้องการให้เทศกาลหนังสือที่เป็นพื้นที่แห่งโอกาส เพื่อให้คนแวดวงหนังสือ ทั้งนักอ่าน นักเขียน นักแปล นักวาดภาพประกอบ นักออกแบบปกหนังสือ บรรณาธิการแต่ละสำนักพิมพ์ ช่างพิมพ์ ช่างกระดาษ โรงพิมพ์ รวมถึงเจ้าของร้านหนังสืออิสระมีโอกาสพบปะ เชื่อมสัมพันธ์ และแสดงศักยภาพ

เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ ทั้งมิติของศิลปินและนักวิชาการ ผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบ ได้แก่ นิทรรศการ เสวนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฉายภาพยนตร์ และพื้นที่จำหน่ายสินค้า โดยเทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 จัดเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีหัวข้อประจำเทศกาล ว่า In Praise of Beautiful Books and Passionate Bookmakers และเทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2559 ในหัวข้อ Literary Weekend ดำเนินการโดยบริษัท บุ๊คโมบี้ จำกัด มีรังสิมา ตันสกุล เป็น Managing Director และปราบดา หยุ่น เป็น Creative Director รวมถึงพันธมิตรสำคัญคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ ที่ชัยพร อินทุวิศาลกุล เป็นผู้บริหารงาน

17 มกราคม 2015

17 มกราคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมตลอดเทศกาลฯ 2 ครั้งที่ผ่านมา จัดขึ้นครอบคลุมพื้นที่อาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) มีสำนักพิมพ์กว่า 20 แห่ง ร่วมแสดงผลงานและเสวนาเปิดตัวหนังสือ ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคเอกชนและองค์กรทางวัฒนธรรมจากหลายประเทศ ได้แก่ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย, ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถานเอกอัครราชทูตเปรู ประจำประเทศไทย, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก และสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

หลังจากเว้นระยะได้ 5 ปี เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2564 ด้วยกิจกรรมในรูปออนไลน์ (Online streaming activities) และในสถานที่จริง (On-site activities) เพื่อให้คนรักหนังสือสามารถเข้าร่วมงานเทศกาลได้อย่างทั่วถึงและปลอดภัย ครอบคลุมระยะเวลาเดือนกรกฎาคมกับอีกช่วงของกิจกรรมคือเดือนธันวาคม ในหัวข้อประจำเทศกาลฯ The Magic of Paper หรือ มนตราแห่งกระดาษ

และในปี พ.ศ. 2566 นี้ เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานครกลับมาอีกครั้งด้วยความร่วมมือของ 3 องค์กรหลัก คือ บริษัทไลบรารี่ เฮ้าส์ จำกัด บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย โดยครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่การผลิตหนังสือแปล เนื่องด้วยเราเล็งเห็นความสำคัญของการแปลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสื่อสาร เชื่อมโลกของผู้คนเข้าหากันได้ทุกเวลา แม้ในสภาวะที่ทุกคนต้องเผชิญกับโรคระบาดขนานใหญ่และมหันตภัยร้ายเช่นสงคราม เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 จึงจัดภายใต้หัวข้อ อักขระและการแปล – al·pha·bet & trans·la·tion ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 ซึ่งตรงกับวันนักแปลสากล

Bangkok Book Festival (BBF)

Many culturally developed countries promote books and reading, and this leads to the occurrences of annual book fairs. Many countries all over the world, such as Germany, UK, France, India, Japan, Indonesia and Myanmar, initiate regular annual book festivals in order to showcase highlights and interesting issues in literature.

The atmospheres of book fairs in Thailand and abroad triggered conversations among owners of Bookmoby Limited Company and printing house Parbpim Limited Partnership who had opportunities to attend book fairs and literary festivals in many countries. The discourse then spread into important conversations with editors from various publishing houses for the first time on 17 January 2015. That conversation reflected the desires of bookmakers to present the value of books beyond selling of discounted books, to emphasize content and background of Thai and foreign literatures along with their art and cultural perspectives, to initiate a book festival which is a space for possibilities and opportunities for bookmakers, readers, writers, translators, illustrators, cover designers, editors from various publishers, printers, paper smiths from various printing houses, along with owners of independent bookstores so that they have an opportunity to meet and converse.

Bangkok Book Festival (BBF) has been held twice. Its main features were talks, workshops, exhibitions, and screenings of films related to the themes of each event. The slogan of the first Bangkok Book Festival held in 2015 was In Praise of Beautiful Books and Passionate Bookmakers, and the theme of the second Bangkok Book Festival in 2016 was Literary Weekend. Both events were organized by Bookmoby Limited Company, under the management of Rangsima Tunsakul as Managing Director and Prabda Yoon as Creative Director, with Parbpim Limited Partnership under the administration of Chaiporn Intuvisankul as an important ally.

The activities throughout the two Bangkok Book Festivals occupied the space of Bangkok Art and Cultural Centre (BACC) with over 20 participating publishers who showcased their works and held book launches. The event received support from multi-national cultural organizations, such as Goethe-Institut Thailand, Centre of Latin American Studies-Chulalongkorn University, Embassy of Peru in Thailand, Embassy of the Czech Republic in Bangkok and Alliance Française de Bangkok.

After a 5-year interval, the third Bangkok Book Festival held in 2021 with activities are available both on-site and online to enable participants to conveniently and safely take part in the festival in July and part two in December, under the theme The Magic of Paper.

And in 2023 the Bangkok Book Festival returns once again under collaboration of three main partners: Library House Company Limited, Parbpim Company Limited and Goethe-Institut Thailand. This time the Festival focuses on the issues of production of translated books because we appreciate the importance of translation and its essential role in communication, connecting people at all times even when facing global pandemic and serious catastophies such as war. Hence, the fourth Bangkok Book Festival is held under the theme al·pha·bet & trans·la·tion on 30 September which coincides with International Translation Day.

 
 

Visit BBF ▷

BBF2015

BBF2015

BBF2016

BBF2016

BBF2021

BBF2021

BBF2023