บันทึกเสวนา จากการแปล(ง) สู่การแปล: ประวัติศาสตร์การสร้างและลบตัวตนของนักแปลไทย จากยุคอาณานิคมถึงยุคสมัยใหม่

 
 

สำนักพิมพ์บทจรเผยแพร่การบันทึกเสียงรายการเสวนา ‘จากการแปล(ง) สู่การแปล: ประวัติศาสตร์การสร้างและลบตัวตนของนักแปลไทย จากยุคอาณานิคมถึงยุคสมัยใหม่’ ซึ่งจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2015 ว่าด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจค­วามเปลี่ยนแปลงของการแปลวรรณกรรมตะวันตกสู่ภาษาไทย เหลียวมองย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคสมัยที่ไทยเริ่มเปิดรับความรู้และวัฒน­ธรรมตะวันตก ในช่วงแรกๆ ที่งานแปลของไทยยังอยู่ในลักษณะการแปลงงานของ­ตะวันตกมาถึงสมัยที่การแปลเป็นความรู้ในสถาบัน

ร่วมสนทนาโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นักเขียน และนักแปลนามปากกา 'สิงห์ สนามหลวง’ และ แพร จิตติพลังศรี อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย วรงค์ หลูไพบูลย์ เจ้าของสำนักพิมพ์บทจร

แบ่งบันทึกเสียงเป็น 4 ตอน ส่วนตอนที่ 5 เป็นช่วงถาม-ตอบหลังการพูดคุย ซึ่ง วัลยา วิวัฒน์ศร อาจารย์และนักแปลภาษาฝรั่งเศส ผู้คร่ำหวอดในวงการวรรณกรรมไทยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลีลาทางภาษาของนักแปลในช่วงนี้ด้วย

 
 

ขอขอบคุณสำนักพิมพ์บทจรสำหรับคลิปบันทึกเสียงเสวนา